ภาคผนวก

Posted on Mon, 08/23/2021 - 14:15 by Kanokwan_Krainukool

        การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบ L.C. หรือ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) แบ่งออกเป็น  21 หมวดใหญ่ ใช้ตัวอักษร A – Z ยกเว้น I O W X Y   ผสมกับตัวเลขอารบิค   ตั้งแต่เลข  1-9 แต่ละหมวดจะแยกการพิมพ์และการใช้โดยอิสระ 

        คู่มือเรื่องนี้ขอกล่าวถึง ระบบ  L.C. เฉพาะด้านสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตั้งแต่ หมวด A-P ดังต่อไปนี้ (ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ม.ป.ป.)

A        ความรู้ทั่วไป (General Works)

B        ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy Psychology, Religion)

C        ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary Sciences of History)

D        ประวัติศาสตร์ทั่วไป และประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : General and Old  World)

E-F     ประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกา (History : America)

G        ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา นันทนาการ  (Geography, Antropology, Recreation)

H        สังคมศาสตร์ (Social Sciences)

J         รัฐศาสตร์ (Political Science)

K        กฎหมาย (Law)

L         การศึกษา (Education)

M        ดนตรี (Music and Books on Music)

N        วิจิตรศิลป์ ศิลปกรรม (Fine Arts)

P        ภาษาและวรรณคดี (Philology and Literatures)

        เลขเรียกหนังสือ  (Call Number) คือ รหัสหรือสัญลักษณ์ที่บรรณารักษ์กำหนดขึ้นสำหรับระบุถึงหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง หรือ วัสดุห้องสมุดแต่ละชิ้น เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดใช้เป็นจุดเข้าถึงวัสดุห้องสมุด ให้บรรณารักษ์ใช้ประโยชน์ในการจัดหา การให้บริการ การจัดเก็บ การสำรวจวัสดุห้องสมุด (อัมพร ทีขะระ, 2535, น. 45)

เลขเรียกหนังสือใช้บอกตำแหน่งที่อยู่ของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด เลขเรียกหนังสือประกอบด้วย

 1. เลขหมู่หนังสือ  

 2. เลขผู้แต่ง หรือ เลขหนังสือ  ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข 

 3. ปีที่พิมพ์ 

 4. อักษรย่อบอกลำดับเล่ม ล. หรือ v.  

 5. อักษรย่อบอกจำนวนฉบับ ฉ. หรือ c.

1

        เลขผู้แต่ง (Author Number) คือ สัญลักษณ์ที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข ตัวอักษร ได้มาจากอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งที่ใช้ลงรายการหลัก ส่วนตัวเลขนั้น บรรณารักษ์เป็นผู้กําหนดจากตัวอักษรหรือสระที่ตามมา โดยใช้ตารางกำหนดเลขผู้แต่งเป็นบรรทัดฐาน ตามด้วยอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องสำหรับทรัพยากรภาษาไทย ส่วนทรัพยากรสารสนเทศภาษาอังกฤษไม่ต้องมีอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องตามหลัง

        เลขหนังสือ (Book Number) ถ้าทรัพยากรสารสนเทศชื่อนั้น ๆ ไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้อักษรตัวแรกของชื่อเรื่องที่ใช้ลงรายการ ส่วนตัวเลข นั้น บรรณารักษ์เป็นผู้กําหนดจากตัวอักษรหรือสระที่ตามมา โดยใช้ตารางกำหนดเลขผู้แต่งเป็นบรรทัดฐาน เช่นเดียวกัน 

หลักเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ
1. แยกประเภททรัพยากรสารสนเทศสาขาวิชา หรือหมวดใหญ่ ๆ ก่อน โดยดูจากชื่อเรื่องและสารบัญของหนังสือ   แล้วจึงค่อยวิเคราะห์จัดหมวดหมู่แต่ละเล่มอย่างละเอียดต่อไป
2. ในการจัดหมวดหมู่ บรรณารักษ์จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร หรือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการอ่านจาก ชื่อหนังสือ คำนำ หรือสารบัญ ก็พอจะทราบแล้วว่าหนังสือนั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร แต่ถ้าไม่แน่ใจ เพราะหนังสือนั้นมีเนื้อหาค่อนข้างยาก บรรณารักษ์ก็ต้องนำหนังสือนั้นไปปรึกษาผู้รู้ หรือครูอาจารย์ที่สอนวิชานั้น ๆ หรือดูจากห้องสมุดอื่น ๆ เป็นแนวทาง 
3. เมื่อบรรณารักษ์ทราบแล้วว่าหนังสือนั้นมีเนื้อหาอะไรให้พิจารณาว่าควรจัดให้อยู่ในหมวดใด แล้วจึงเปิดดูจากแผนการจัดหมู่เพื่อดูตัวเลขละเอียดสำหรับหนังสือว่าควรใช้เลขใดจึงจะเหมาะสมที่สุด
4. เมื่อได้เลขหมู่แล้วให้กรอกเลขหมู่ใน Tag 050 ของระบบห้องสมุตอัตโนมัติ WALAI AutoLib

 

คู่มือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

1. หนังสือ การจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน 

2. หนังสือ การทำบัตรรายการหนังสือตามหลักเกณฑ์ AACR 2

3. หนังสือ การลงรายการหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ตามหลักเกณฑ์ AACR 2, 1998 Revision

4. หนังสือ คู่มือปฏิบัติงานการลงรายการหนังสือ ฉบับปรับปรุงใหม่  

5. คู่มือ MARC21 (MARC 21 Format for Bibliographic Datahttps://www.loc.gov/marc/bibliographic/

6. คู่มือจัดหมวดหมู่ ระบบ L.C.   

    6.1 คู่มือการจัดหมวดหมู่ L.C. (Library of Congress Classification) https://www.loc.gov/aba/publications/FreeLCC/freelcc.html

    6.2 Library of Congress Classification ฉบับพิมพ์

คู่มือ LC

 7. เลขหนังสือสำหรับหนังสือภาษาไทยแบบของห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เลขผู้แต่ง

 

8. ตารางเลขหนังสือสำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ

    8.1 Cutter-Sanborn number PDF version https://www.earth.sinica.edu.tw/webearth-library/files/CUTTER-SANBORN.pdf

    8.2 Cutter-Sanborn number Online version  http://cutternumber.com/

cutter

 

9. ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย (Thai Subject Headings)  https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php

ฐานข้อมูลหัวเรื่อง

 

10. Library of Congress Subject Headings  

     10.1 Library of Congress Subject Headings  ฉบับพิมพ์

     10.2 Library of Congress Subject Headings PDF Files https://www.loc.gov/aba/publications/FreeLCSH/freelcsh.html

ฐานข้อมูลหัวเรื่อง LCSH

 

 

 

 

 

 

Back to Top