1.รับหนังสือส่งซ่อมจากงานบริการผู้ใช้เพื่อนำมาซ่อมแซม และพิจารณสภาพการชำรุด
2. เข้าสู่หน้า Dashboard ในระบบของ Walai AutoLib เพื่อเปลี่ยนสถานะของทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุด
3.เลือกเมนูสืบค้นระเบียนบรรณานุกรม ระบบWalai AutoLib
2.2. จาก สถานะทรัพยากร ให้เปลี่ยนสถานะจาก Available
2. เปลี่ยนสถานะข้อมูลทรัพยากรใน เป็น Repaired บันทึก พร้อมออกจากระบบ กระบวนการนี้เป็นการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบจากหน้าสืบค้นว่าทรัพยากรสารสนเทศเล่มนี้ ไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่สามารถใช้งาน หรือยืมได้ในขณะนี้
3. นำทรัพยากรสารสนเทศ ที่เปลี่ยนสถานะแล้ว มาพิจารณาเพื่อแยกประเภทการซ่อม
สภาพของทรัพยากรสารสนเทศ อยู๋ในสภาพ ชำรุดน้อย เช่น หน้าหลุดขาดหาย กาวหลุด
หรือสภาพอยู่ในลักษณะ ชำรุดมาก เช่น ปกหลุดจากตัวเล่ม หน้าฉีกขาดหาย
4. หลังจากนั้นจัดเตรียมตัวเล่ม โดยการเจาะตัวเล่ม ตามขนาดของหนังสือ เช่น ขนาดเล็ก เจาะ 3 รู ขนาดกลาง 4 รู และขนาด A4 เจาะ 5 รู
เมื่อเจาะตัวเล่มแล้ว ใช้ค้อนทุบบริเวณที่เจาะ ไห้ยุบ
5. เย็บตัวเล่ม จากรูที่ 2 ไปด้านข้าง แล้วกลับมายังรูที่2 ไปยังรูที่ 3 ย้อนกลับมาที่รูที่ 2 อีกครั้ง มัดไห้ตึงแล้วตัดด้ายออก
อธิบายขั้นตอนและวิธีการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศจดหมายเหตุด้วยเว็บไซต์ WU Timeline ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอสารสนเทศจดหมายเหตุ (Archive) ในรูปแบบไทม์ไลน์เว็บแอปพลิเคชั่น (Timeline Web Application) บนพื้นฐานของการใช้โซเชียลมีเดีย (Social Media) เนื้อหาในเว็บไซต์นำเสนอเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา พัฒนาการ การดำเนินงาน เหตุการณ์ และกิจกรรมของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในรูปแบบลำดับเหตุการณ์ตามเวลาที่เกิดขึ้น (Chronological order) และจัดเรียงเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ (Category) การนำเสนอทรัพยากรสารสนเทศจดหมายเหตุด้วยเว็บไซต์ WU Timeline จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและเข้าใจเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และยังสามารถตอบสนองและมีส่วนร่วมในการแบ่งปันหรือส่งต่อความทรงจำกับมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย
1. รับทรัพยากรสารสนเทศใหม่จากงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งติดบาร์โค้ดเรียบร้อยแล้ว และบันทึกข้อมูลในระเบียนบรรณานุกรมไว้อย่างย่อ
2. เข้าสู่หน้า Dashboard ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib
2.1 เข้าสู่หน้า Dashboard
2.2 เลือก "เมนู Cataloging" และ เลือก "สืบค้นระเบียนบรรณานุกรม"
3. ตรวจสอบรายการทรัพยากรสารสนเทศจากฐานข้อมูล ว่าเป็นฉบับซ้ำซ้อนหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้จากรายการชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง เลข ISBN เลขบาร์โค้ด หรือเลขระเบียนบรรณานุกรม (เลข bib.) ก็ได้
3.1 ถ้าเป็นฉบับซ้ำซ้อน เขียนเลขเรียกหนังสือด้านหลังหน้าปกใน
3.2 ถ้าไม่เป็นฉบับซ้ำซ้อน ทำการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบ L.C. กำหนดเลขผู้แต่ง และปีที่พิมพ์ ซึ่งเรียกว่า เลขเรียกหนังสือ
เลือกช่องทางการสืบค้น เช่น สืบค้นจาก "Barcode"
หน้าผลการสืบค้นจะแสดงหน้ารายการทรัพยากรสารสนเทศให้ กดปุ่มปิดหน้าต่าง เพื่อจะไปสู่หน้าระเบียนบรรณานุกรม
เลือก "แก้ไขระเบียนบรรณานุกรม"
หน้าระเบียนบรรณานุกรมที่จะแก้ไขข้อมูล
4. กรอก Tag 050 เลขเรียกหนังสือในระเบียนบรรณานุกรมตามแบบ MARC 21 และตามกฎของ AACR 2 ลงในฐานข้อมูล ซึ่งงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ได้บันทึกข้อมูลในระเบียนบรรณานุกรมไว้อย่างย่อ
4.1 เพิ่ม tag 050 โดยการกดปุ่ม "Insert Tag"
4.2 เพิ่มข้อมูลใน Tag 050 เลขเรียกหนังสือระบบ L.C. แล้ว กดปุ่ม "ตกลง"
อธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของการกำหนดหัวเรื่องและการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุดได้ตรงตามความต้องการอย่างสะดวก รวดเร็ว