ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีโครงสร้างการบริหารงานโดยมีผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการกำกับดูแลและมีคณะกรรมการประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาของศูนย์ และมีหัวหน้าฝ่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สนับสนุนภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมต่างๆ ทรัพยากรสารสนเทศ สื่อการเรียนการสอน ฐานข้อมูล ให้บริการผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา โดยแบ่งโครงสร้างองค์กรออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้ (ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง การแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา ศูนย์ สถาบัน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2562, 2562)
ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการและสนับสนุนด้านการเรียนการสอนของคณาจารย์ มุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา การพัฒนาสื่อการศึกษาเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรและกิจกรรมของนักศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาไปสู่ การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High performance organization) โดยฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษาแบ่งเป็น 5 งานดังนี้
1. งานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ให้บริการผลิตสำเนาข้อสอบ ทั้งในตารางและนอกตารางของทุกสำนักวิชา รวมทั้งการผลิตสำเนาข้อสอบในโครงการต่าง ๆ ให้บริการเผยแพร่ข้อสอบเก่าที่ได้รับการอนุญาตแล้ว รวมทั้งให้บริการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ
2. งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี สนับสนุนการผลิตบทเรียน ThaiMOOC บูรณาการการทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมผลิตเป็นบทเรียนจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ให้บริการปรึกษาด้านการผลิตบทเรียนออนไลน์ลงในระบบ e-Learning สร้างแบบทดสอบ ใน e-Testing ให้คำแนะนำการใช้ Application สนับสนุนการเรียนการสอน รวมทั้งพัฒนาระบบ ดูแลระบบเน็ตเวิร์คและระบบ WALAI AutoLib ในศูนย์บรรณสาร ฯ
3. งานผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอน บริการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอน เน้นให้บริการผลิตสื่อวีดิทัศน์และถ่ายภาพนิ่ง รวมถึงให้บริการไฟล์ภาพความละเอียดสูงแก่หน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ผลิตสื่อเพื่อการศึกษาจัดทำคู่มือ หรือนำไปผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่โดยบุคคลภายในมหาวิทยาลัย
4. งานออกแบบกราฟิกและนิทรรศการ สนับสนุนการออกแบบเพื่อการเรียนการสอน เช่น การ์ตูนและภาพประกอบสื่อการเรียนการสอน สื่อบทเรียนอออนไลน์ ThaiMOOC Infographic โปสเตอร์ ออกแบบนิทรรศการ กราฟิกในเว็บไซต์หรือในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ขอใช้บริการ
5. งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ให้บริการสนับสนุนควบคุมดูแลอุปกรณ์สื่อโสต ฯ เพื่อการเรียนการสอนในห้องเรียน SmartClassroom การประชุมทางวิชาการ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยรวมทั้งให้คำปรึกษา ออกแบบระบบสื่อโสต ฯ สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้ยังสนับสนุนการจัดทำกิจกรรมของนักศึกษาอีกด้วย
ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสาร ฯ มอบหมายงานให้บุคลากรปฏิบัติตาม OKRs ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย โดย OKRs ที่ได้รับจะครอบคลุมงานทั้งหมดของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
ประชุมหัวหน้างานในฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในเรื่อง OKRs และถ่ายทอดทำความเข้าใจกับบุคลากรในงานและการมอบหมายงานตามภารกิจที่ได้รับ
บุคลากรบันทึกข้อตกลงร่วม Job Agreement ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีภาระงานประจำภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคือ JOB 1 และกรณีงานประจำที่ต้องปฏิบัติไม่พอเพียงสามารถนำ OKRs ที่ได้รับมาเป็น JOB 2 ได้ กรณีที่งานประจำมีภาระงานตรงกับ OKRs ที่ได้รับสามารถนำ OKRs ตามที่มหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายมาเป็นงานประจำได้และทุกคนต้องมีส่วนร่วมใน OKRs ของศูนย์บรรณสาร ฯ อย่างน้อย 1 คนต่อ 1 OKRs
หัวหน้างานตรวจสอบ JOB AGREEMENT
หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบ JOB AGREEMENT
บุคลากรทุกคนต้องบันทึกการทำงานรายวัน การบันทึกภาระงานเป็นหน้าที่และเป็นคะแนนในการประเมินหน่วยงานของมหาวิทยาลัย
1.การเข้าสู่ระบบเปิดเบราวเซอร์แล้วกรอก URL http://e-jpas.wu.ac.th จะแสดงหน้าจอการเข้าสู่ระบบ (1)
คู่มือการมอบหมายงานและติดตามงาน ของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอน เป็นคู่มือการมอบหมายงานและติดตามการทำงานของนายช่างเทคนิค งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ หัวหน้างานจะต้องมอบหมายการทำงาน ให้กับนายช่างเทคนิคทีปฏิบัติงานตามอาคารต่างๆ หรือเป็นการมอบหมายงาน ตามภาระกิจงานประจำ งานยุทธศาสตร์ งานเฉพาะกิจเร่งด่วน งานประจำปีตามงบประมาณของมหาวิทยาลัย เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์