เงื่อนไข :
1. การเขียนการอ้างอิงและรายการบรรณานุกรมจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ดังนั้นผู้ตรวจสอบจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความชำนาญในหลักการอ้างอิงแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ทุกข้อ
2. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีประสบการณ์ในการตรวจสอบหรือปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบบ้าง เพื่อให้สามารถแยกแยะรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมที่นักศึกษาส่งตรวจได้ว่ามีนำการอ้างอิงมาจากเอกสารประเภทใด มีการอ้างอิงและรายการบรรณานุกรมอย่างไร
3. แจ้งผลหรือการแก้ไขการตรวจสอบทุกรายการที่ปรากฎในตัวเล่ม
4. เมื่อนักศึกษาส่งตัวเล่มมาให้ตรวจสอบ หากรายการยังไม่ถูกต้องจะต้องส่งคืนและให้นักศึกษาแก้ไขใหม่จนกว่าจะถูกต้องทุกรายการ
ข้อสังเกต :
1. นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะขอพบผู้ตรวจ เพื่อจะได้ทราบว่าตัวเองจัดทำไม่ถูกต้องในหลักเกณฑ์ใด และจะต้องแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้อง
2. นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะต้องแก้ไขรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม อย่างน้อย 2 ครั้ง เนื่องจากอาจจะเพราะไม่เข้าใจกฎเกณฑ์หรืออาจจะไม่ไม่ทราบในรายละเอียดในข้อนั้น ๆ
3. นักศึกษามักจะส่งตัวเล่มพร้อม ๆ กัน ในเวลาที่ใกล้จบการศึกษา และมักจะเร่งขอผลการตรวจสอบแบบเร่งด่วน ผู้ตรวจอาจจะต้องเตรียมเวลาสำหรับการตรวจสอบผลงานไว้ด้วย และพยายามลดงานประจำอื่น ๆ ให้น้อยลง
ข้อควรระวัง :
1. ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะต้องมีความเชี่ยวชาญเรื่อง หลักเกณฑ์ตาม APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ในการแนะนำนักศึกษาว่าการอ้างอิงและรายการบรรณานุกรมแต่ละจุด ผิดอย่างไร และจะต้องแก้ไขอย่างไร
2. จะต้องมีแนวปฏิบัติงานในการรับตัวเล่ม การตรวจสอบเนื้อหาที่เหมือนกัน เพื่อให้มีมาตรฐานในการทำงานเหมือนกัน