การเตรียมตัวเล่มทรัพยากรสารสนเทศก่อนให้บริการผู้ใช้
อธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการปฏิบัติงาน การเตรียมตัวเล่มทรัพยากรสารสนเทศก่อนให้บริการผู้ใช้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ภายในห้องสมุด
อธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการปฏิบัติงาน การเตรียมตัวเล่มทรัพยากรสารสนเทศก่อนให้บริการผู้ใช้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ภายในห้องสมุด
คู่มือการทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีด้านระบบโสตทัศนูปกรณ์ เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจัดทำเอกสารคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ให้สามารถจัดทำเอกสารคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นไปตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการผลิตสำเนาข้อสอบเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้กับรายวิชาต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่เริ่มเปิดการเรียนการสอนในปี พ.ศ.2541 และได้ดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเปิดสำนักวิชาใหม่เพิ่มขึ้น จนถึงปัจจุบันมีสำนักวิชาจำนวน 14 สำนักวิชา 4 วิทยาลัย และมีรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษามากกว่า 950 รายวิชา ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้งานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต้องมีภารกิจในการจัดซื้อวัสดุสิ้นเปลืองที่จำเป็นต่อการจัดทำสำเนาข้อสอบเก็บสำรองไว้ใช้ในภารกิจ และต้องจัดซื้อในปริมาณมากที่เพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละภาคการศึกษาเพื่อไม่ให้ภารกิจการผลิตสำเนาข้อสอบเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงได้จัดทำคู่มือ "การเตรียมก่อนการจัดซื้อวัสดุสิ้นเปลืองในงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์" ขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีมาตรฐานในการทำงานและผู้ปฎิบัติงานแทนสามารถทำงานแทนได้อย่างราบรื่น ลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ระบบคลังข้อสอบเก่าออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งระบบที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีช่องทางในการศึกษา ค้นคว้า ทดลองทำข้อสอบ และศึกษาแนวข้อสอบเก่า โดยงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ได้ดำเนินการสแกนข้อสอบเป็น PDF file และนำขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งสามารถเข้าใช้บริการได้ที่ https://library.wu.ac.th/?page_id=3865 ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหา และทดลองทำ และทบทวนบทเรียนได้
แนะนำรายละเอียดและขั้นตอนการออกแบบสื่อนิทรรศการด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator และ Adobe Photoshop ซึ่งเป็นการออกแบบสื่อเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อในการเผยแพร่ความรู้ขององค์กร และสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
แนะนำการใช้งานโสตทัศนูปกรณ์สำหรับห้องบรรยาย 300 ที่นั่ง ที่อยู่ในอาคารเรียนรวม 1 อาคารเรียนรวม 3 อาคารเรียนรวม 5 และอาคารเรียนรวม 7 ซี่งเป็นห้องขนาด 300 ที่นั่ง ที่มีการปรับปรุงใหม่ทุกห้อง มีสีที่แตกต่างกันแต่ละอาคาร ใช้สำหรับการบรรยายเพื่อการเรียนการสอน การประชุม รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยอธิบายรายละเอียดและขั้นตอนการใช้งาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง
อธิบายขั้นตอนการสรุปรายงานค่าปรับหนังสือเกินกำหนดส่งประจำวันจากระบบ WALAI Report Generator และการนำเงินสดที่ได้จากค่าปรับฝากเข้าบัญชีธนาคารออมสิน ชื่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมส่งหลักฐานการรับชำระค่าปรับทั้งหมดให้กับส่วนการเงินและบัญชีตามระเบียบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ช่วยให้ผู้ที่เรียนรู้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติได้ และเพื่อฝึกฝนให้บัณฑิต ที่เป็นคนดี และเก่ง
งานผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนทำหน้าที่ประสานงานการผลิตรายการโทรทัศน์ วลัยลักษณ์สู่สังคม โดยเผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช และทาง Social media ในช่องทาง Facebook และ Youtube
ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเป็นหน่วยงานที่ให้บริการและให้การสนับสนุนการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสถานที่เก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศและองค์ความรู้ทุกรูปแบบ มีหน้าที่บริการและอำนวยความสะดวก ในการเข้าถึงสารสนเทศต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของความสามารถเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้ทบทวน บทเรียนและประเมินผลทราบถึงความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ ที่นักศึกษาสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา
การพัฒนาสื่อสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ การพัฒนา e-Learning ให้รองรับการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน เป็นระบบหนึ่งที่มีลักษณะเป็นหลักสูตรออนไลน์ (Online Course) ซึ่งสามารถนำเสนอสาระการเรียนรู้วิชาทางออนไลน์ที่เข้าถึงผู้เรียนจำนวนมาก ๆ ได้ โดยหลังการเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ ผู้เรียนจะสามารถประเมินความรู้ของตนเองโดยการทำข้อสอบออนไลน์ผ่านระบบ e-Learning ในส่วนของแบบทดสอบออนไลน์ หลังจากนั้นผู้เรียนจะทราบถึงผลคะแนนและข้อที่ตอบถูกและข้อที่ตอบผิดได้ทันที เมื่อทำแบบทดสอบครบทุกข้อ ผู้เรียนจะสามารถวัดระดับความรู้ของตนเองได้อย่างสะดวก ดังนั้น e-Testing จึงเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รองรับการทำแบบทดสอบทางออนไลน์จำนวนมากได้พร้อม ๆ กัน