การจัดหมวดหมู่

Posted on Wed, 08/11/2021 - 15:08 by Kanokwan_Krainukool

ผังงานและขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ผังงาน การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้วยระบบ L.C.

ผังงาน

 

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. รับทรัพยากรสารสนเทศใหม่จากงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ  ซึ่งติดบาร์โค้ดเรียบร้อยแล้ว และบันทึกข้อมูลในระเบียนบรรณานุกรมไว้อย่างย่อ

2. เข้าสู่หน้า Dashboard ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib 

    2.1 เข้าสู่หน้า Dashboard

เข้าระบบหน้า Cat

 

    2.2 เลือก "เมนู Cataloging"  และ เลือก "สืบค้นระเบียนบรรณานุกรม"

เข้าระบบหน้า Cat

 

3. ตรวจสอบรายการทรัพยากรสารสนเทศจากฐานข้อมูล ว่าเป็นฉบับซ้ำซ้อนหรือไม่  โดยสามารถตรวจสอบได้จากรายการชื่อเรื่อง  ชื่อผู้แต่ง  เลข ISBN เลขบาร์โค้ด หรือเลขระเบียนบรรณานุกรม (เลข bib.) ก็ได้

     3.1 ถ้าเป็นฉบับซ้ำซ้อน  เขียนเลขเรียกหนังสือด้านหลังหน้าปกใน

     3.2 ถ้าไม่เป็นฉบับซ้ำซ้อน ทำการจัดหมวดหมู่ด้วยระบบ L.C. กำหนดเลขผู้แต่ง และปีที่พิมพ์ ซึ่งเรียกว่า เลขเรียกหนังสือ

เลือกช่องทางการสืบค้น  เช่น สืบค้นจาก "Barcode"

ช่องทางการสืบค้น

 

หน้าผลการสืบค้นจะแสดงหน้ารายการทรัพยากรสารสนเทศให้ กดปุ่มปิดหน้าต่าง เพื่อจะไปสู่หน้าระเบียนบรรณานุกรม

หน้ารายการทรัพยากร

 

เลือก "แก้ไขระเบียนบรรณานุกรม"

แก้ไขระเบียน

 

หน้าระเบียนบรรณานุกรมที่จะแก้ไขข้อมูล

ระเบียน

 

4. กรอก Tag 050 เลขเรียกหนังสือในระเบียนบรรณานุกรมตามแบบ MARC 21 และตามกฎของ AACR 2 ลงในฐานข้อมูล ซึ่งงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ได้บันทึกข้อมูลในระเบียนบรรณานุกรมไว้อย่างย่อ

    4.1 เพิ่ม tag 050 โดยการกดปุ่ม "Insert Tag"

เพิ่ม 050

 

   4.2 เพิ่มข้อมูลใน  Tag 050 เลขเรียกหนังสือระบบ L.C. แล้ว กดปุ่ม "ตกลง"

Posted on Thu, 01/27/2022 - 09:16 by Suwat_Kertmanee

คู่มือการจัดเก็บและจัดชั้นหนังสือ

ห้องสมุด ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมากกว่า 200,000 เล่ม มีการใช้บริการโดยหยิบออกจากชั้นวางหรือถูกยืมออกและนำกลับมาส่งคืนอยู่ตลอดเวลา การจัดเก็บและจัดชั้นหนังสือจึงมีขั้นตอน วิธีการ และการปฏิบัติที่เป็นแบบแผนถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงจัดทำเป็นคู่มือฉบับนี้เพื่อให้การจัดเก็บและค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

1

 

Back to Top