บทเรียนออนไลน์ในระบบ WU e-Learning

Posted on Mon, 04/25/2022 - 16:13 by Chatsan_Chanru…

บรรณานุกรม

ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง การแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา ศูนย์ สถาบัน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อ            อย่างอื่น พ.ศ. 2562. (2562). สืบค้นจาก 
          https://drive.google.com/file/d/1fUB9WrU_gvY-_xJx3ydaZ1bxRXqCVHU2/view

ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2563.                      (2563). สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1lLSQi3aofpERtvDVhazqhoy1vH1_1XRD/view

Posted on Mon, 04/25/2022 - 16:04 by Chatsan_Chanru…

คำอธิบายศัพท์เฉพาะ

    ระบบ WU e-Learning หมายถึง เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับอาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อรองรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์

Posted on Mon, 04/25/2022 - 16:11 by Chatsan_Chanru…

ข้อมูลผู้เขียน

  picชื่อ-สกุล :  นางสาวชัชสันต์ จันทร์เรืองฤทธิ์
  ตำแหน่ง :  นักเทคโนโลยีการศึกษา
  สังกัด : งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยีการศึกษา
  ฝ่าย : สนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา
  เบอร์โทรศัพท์ : 075-673306
  E-mail : iporntip@mail.wu.ac.th

Posted on Mon, 04/25/2022 - 16:04 by Chatsan_Chanru…

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้ที่ทำงานทดแทนสร้างระบบบทเรียนออนไลน์ WU e-Learning ได้ด้วยตนเอง

2. ผู้ทำงานทดแทนสามารถวัดผลและประเมินผลในระบบบทเรียนออนไลน์

3. ลดภาระขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงานและมีการทำงานเป็นมาตราฐานเดียว

Posted on Mon, 04/25/2022 - 16:03 by Chatsan_Chanru…

ขอบเขตของคู่มือ

       คู่มือการปฏิบัติงาน การสร้างบทเรียนออนไลน์ในระบบ WU e-Learning เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายขั้นตอนการสร้างบทเรียน การใส่เนื้อหาและการใส่คลิปวิดีโอประกอบบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำงานทดแทนสามารถทำการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยการนำไปใช้ในสร้างบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบ WU e-Learning ซึ่งในคู่มือจะอธิบายถึงขั้นตอนการสร้างบทเรียนออนไลน์ พร้อมทั้งตัวอย่างการสร้างบทเรียนที่มีออนไลน์ในระบบ WU e-Learning

Posted on Mon, 04/25/2022 - 16:06 by Chatsan_Chanru…

โครงสร้างการบริหารจัดการ

     ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีโครงสร้างการบริหารงานโดยมีผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการกำกับดูแลและมีคณะกรรมการประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาของศูนย์  และมีหัวหน้าฝ่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สนับสนุนภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมต่างๆ ทรัพยากรสารสนเทศ สื่อการเรียนการสอน ฐานข้อมูล  ให้บริการผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา  โดยแบ่งโครงสร้างองค์กรออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้ (ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง การแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา ศูนย์ สถาบัน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2562, 2562) 

  1. ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ
  2. ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  3. ฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา 
  4. ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

โครงสร้างฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา  >> คลิกที่นี่ <<

     ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการและสนับสนุนด้านการเรียนการสอนของคณาจารย์ มุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา การพัฒนาสื่อการศึกษาเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรและกิจกรรมของนักศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาไปสู่ การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High performance organization) โดยฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษาแบ่งเป็น 5 งานดังนี้

     1. งานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ให้บริการผลิตสำเนาข้อสอบ ทั้งในตารางและนอกตารางของทุกสำนักวิชา รวมทั้งการผลิตสำเนาข้อสอบในโครงการต่าง ๆ ให้บริการเผยแพร่ข้อสอบเก่าที่ได้รับการอนุญาตแล้ว รวมทั้งให้บริการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ 

     2. งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี สนับสนุนการผลิตบทเรียน ThaiMOOC บูรณาการการทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมผลิตเป็นบทเรียนจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์  ให้บริการปรึกษาด้านการผลิตบทเรียนออนไลน์ลงในระบบ e-Learning  สร้างแบบทดสอบ ใน e-Testing ให้คำแนะนำการใช้ Application สนับสนุนการเรียนการสอน รวมทั้งพัฒนาระบบ ดูแลระบบเน็ตเวิร์คและระบบ WALAI AutoLib ในศูนย์บรรณสาร ฯ 

     3. งานผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอน บริการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอน เน้นให้บริการผลิตสื่อวีดิทัศน์และถ่ายภาพนิ่ง รวมถึงให้บริการไฟล์ภาพความละเอียดสูงแก่หน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ผลิตสื่อเพื่อการศึกษาจัดทำคู่มือ หรือนำไปผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่โดยบุคคลภายในมหาวิทยาลัย

     4. งานออกแบบกราฟิกและนิทรรศการ สนับสนุนการออกแบบเพื่อการเรียนการสอน  เช่น การ์ตูนและภาพประกอบสื่อการเรียนการสอน สื่อบทเรียนอออนไลน์ ThaiMOOC  Infographic โปสเตอร์ ออกแบบนิทรรศการ กราฟิกในเว็บไซต์หรือในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ขอใช้บริการ

     5. งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ให้บริการสนับสนุนควบคุมดูแลอุปกรณ์สื่อโสต ฯ เพื่อการเรียนการสอนในห้องเรียน SmartClassroom  การประชุมทางวิชาการ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยรวมทั้งให้คำปรึกษา ออกแบบระบบสื่อโสต ฯ สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ นอกเหนือจากนี้ยังสนับสนุนการจัดทำกิจกรรมของนักศึกษาอีกด้วย

 

Posted on Mon, 04/25/2022 - 16:08 by Chatsan_Chanru…

ผังงานและขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ผังการสร้างบทเรียนออนไลน์ในระบบ WU e-Learning

 

ผัง

 

 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. รับเนื้อหาบทเรียนจากอาจารย์

2. สร้างรายวิชาในระบบ WU e-Learning

2. ดำเนินการจัดทำสื่อประกอบบทเรียนลงในระบบ WU e-Learning

3. เมื่อเสร็จแล้วส่งให้อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้องของบทเรียน

4. อาจารย์ตรวจความถูกต้องของเนื้อหาบทเรียนหากมีแก้ไข ส่งกลับไปแก้ไข

5. อาจารย์ตรวจแล้วถูกต้อง 

6. เปิดรายวิชาในระบบ WU e-Learning

Posted on Mon, 04/25/2022 - 16:02 by Chatsan_Chanru…

ความสำคัญ/ความจำเป็น

           คู่มือปฏิบัติงานเรื่อง  การสร้างบทเรียนออนไลน์ในระบบ WU e-Learning จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน สำหรับบุคลากรในหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ และใช้เป็นคู่มือในการฝึกการใช้งานระบบในส่วนของการสร้างบทเรียนออนไลน์ สำหรับอาจารย์ หรือผู้ช่วยสอนหรือบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำบทเรียนออนไลน์ ซึ่งสามารถใช้เป็นคู่มือฝึกวิชาชีพแก่นักศึกษาสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ โดยอธิบายกระบวนการ  การปฏิบัติงานพร้อมทั้งขั้นตอนการสร้างบทเรียนออนไลน์ เพื่อให้สร้างบทเรียนในระบบ WU e-Learning สามารถฝึกสร้างบทเรียนออนไลน์ และสามารถแก้ไขบทเรียนได้ด้วยตนเอง

Posted on Mon, 04/25/2022 - 15:57 by Chatsan_Chanru…

การสร้างบทเรียนออนไลน์ในระบบ WU e-Learning

การสร้างบทเรียนออนไลน์ในระบบ WU e-Learning

 

p

               การพัฒนาสื่อสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ การพัฒนา e-Learning ให้รองรับการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน  เป็นระบบหนึ่งที่มีลักษณะเป็นหลักสูตรออนไลน์ (Online Course) ซึ่งสามารถนำเสนอสาระการเรียนรู้วิชาทางออนไลน์ที่เข้าถึงผู้เรียนจำนวนมาก ๆ ได้ โดยหลังการเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ ผู้เรียนจะสามารถประเมินความรู้ของตนเองโดยการเข้าเรียนในรายวิชา ที่เปิดสอนออนไลน์ซึ่งอยู่ในระบบ WU e-Learning ในส่วนของเนื้อหาบทเรียน ,คลิปวิดีโอประกอบบทเรียนรวมทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน,แบบทดสอบหลังเรียนและแบบทดสอบประเมินความรู้ ผู้เรียนจะทราบถึงผลการเรียนได้ทันที

Back to Top