การส่งผลงานเข้าตรวจคัดลอกด้วยโปรแกรม Turnitin
โปรแกรม Turnitin เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในการตรวจสอบความซ้ำของผลงาน การตรวจสอบการคัดลอกผลงานในปัจจุบันมีความจำเป็น บทความตีพิมพ์แพร่หลายในปัจจุบัน
โปรแกรม Turnitin เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในการตรวจสอบความซ้ำของผลงาน การตรวจสอบการคัดลอกผลงานในปัจจุบันมีความจำเป็น บทความตีพิมพ์แพร่หลายในปัจจุบัน
หนังสือที่มีในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษานั้นมีจำนวนมากกว่า 200,000 เล่ม หากผู้ใช้ไม่มีความเชี่ยวชาญในการค้นหาหนังสือ จะทำให้เสียเวลา และต้องทำความเข้าใจกับระบบการสืบค้น เทคนิคการสืบค้น การใช้คำค้น หากต้องการให้การค้นหาหนังสือเป็นเรื่องที่ง่าย และได้รับหนังสือตรงตามความต้องการ การสร้าง Category หนังสือ มคอ.3 ในระบบ WALAI AutoLib ช่วยลดปัญหาการสืบค้น เป็นการรวบรวมหนังสือหรือตำราหลักและหนังสืออ่านเพิ่มเติมตาม มคอ.3 ไว้ด้วยกัน นอกจากนี้แล้วยังรวมเอาหนังสือที่เกี่ยวโยงกันเข้าไว้ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้ "ลดเวลา หาง่าย ได้รับตรงตามความต้องการ"
อธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของการกำหนดหัวเรื่องและการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุดได้ตรงตามความต้องการอย่างสะดวก รวดเร็ว
การเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ จัดทำสัน ติดสัน ติดใบกำหนดส่ง และพิจารณาหุ้มปก เป็นการเตรียมตัวเล่มทรัพยากรเพื่อการไห้บริการทรัพยากรสารสนเทศของตัวเล่มที่สมบูรณ์ ต้องมีการเตรียมตัวเล่มไห้ถูกต้องตามระบบ มีการทำสัน ติดสัน ติดใบกำหนดส่งและอื่นๆ เพื่อไห้พร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้บริการ คู่มือนี้จะมีรายละเอียดและขั้นตอนการทำสัน ติดสัน และติดใบกำหนดส่ง ให้กลับมีสภาพพร้อมใช้งาน
อธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนงานการตรวจสอบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของที่มาของสารสนเทศที่นำมาแสดงในผลงานวิชาการ ทั้งวิทยานิพนธ์ การศึกษาอิสระ โครงงาน และปริญญานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้มีความถูกต้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด และแสดงถึงการแสดงเจตจำนงค์ในการไม่ละเมิดลิขสิทธ์ของผู้อื่น
การลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรม เป็นการลงรายละเอียดข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศเพื่ออธิบายลักษณะและเนื้อหาของสารสนเทศ อันจะเป็นช่องทางการเข้าถึงรายการทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องตรงตามความต้องการ รวมถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะและรูปแบบที่แตกต่างจากหนังสือทั่วไปด้วย ในคู่มือนี้อธิบายรายละเอึยดการลงรายการลงในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้สะดวก รวดเร็ว และทราบว่าเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากหน้าจอแสดงผล รวมถึงสามารถเข้าอ่านฉบับเต็มของตัวเล่มได้
การสร้าง Category และ Tag Cloud เป็นการจัดกลุ่มทรัพยากรประเภทหนังสือให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้ หรือสืบค้น โดยการสร้าง Category ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มทรัพยากรด้วยชื่อหลักสูตรและรายวิชา และการติด Tag Cloud ด้วยรหัสรายวิชาของแต่ละหลักสูตร
การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้วยระบบ L.C. เป็นการจัดระบบสำหรับจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ แบ่งเนื้อหาตามระบบการจัดหมวดหมู่ที่นำมาใช้ เน้นทรัพยากรสารสนเทศด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หมวดหมู่ A-P อธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนงานตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศใหม่จากงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเลขเรียกหนังสือในฐานข้อมูล ดำเนินการจัดหมวดหมู่และกำหนดเลขผู้แต่ง กรอกข้อมูล Tag 050 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเขียนเลขเรียกหนังสือด้านหลังหน้าปกใน
การซ่อมแซมและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ เป็นงานที่จัดทำเพิ่มความแข็งแรงทนทานของหนังสือที่ชำรุดจากการใช้งาน และเพื่อให้ตัวเล่มมีความสมบูรณ์และยืดอายุการใช้งาน การซ่อมแซมมีวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ในการดำเนินงานซึ่งจะพิจารณาตามสภาพการชำรุดหรือไม่สมบูรณ์ของตัวเล่ม เมื่อซ่อมแซมแล้วจะนำกลับมาใช้ใหม่อย่างสมบูรณ์ คู่มือนี้จะมีรายละเอียดและขั้นตอนการซ่อมแซมหนังสือให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์และสามารถใช้งานได้อีก