ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

Posted on Thu, 08/26/2021 - 11:38 by Nantaporn_Khan…

ขั้นตอนการปฏิบัติงานการให้บริการถ่ายภาพบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ในการให้บริการถ่ายภาพบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นั้นจะแบ่งการให้บริการออกเป็น ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ

  • ก่อนให้บริการถ่ายภาพ

  • ขณะให้บริการถ่ายภาพ

  • หลังให้บริการถ่ายภาพ

ดังนี้

CLM Photo shoot studio

 

ก่อนให้บริการถ่ายภาพ

1. ติดต่อประสานงาน 

เมื่อได้รับการการประสานงานขอรับบริการถ่ายภาพติดบัตร ให้สอบถามรายละเอียดชุดที่ต้องใส่ถ่ายภาพ ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยเครื่องแบบของพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2558 ข้อที่ 17. กำหนดให้พนักงานแต่งกายชุดปกติขาวสำหรับถ่ายรูปติดบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ถูกต้องตามข้อบังคับที่กำหนด นอกจากนี้ในแบบฟอร์มคำขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ได้ระบุรายละเอียดไว้เช่นกัน ส่วนลูกจ้างชั่วคราวได้กำหนดให้แต่งกายชุดสุภาพสำหรับถ่ายรูปติดบัตรประจำตัวลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งระบุไว้ท้ายแบบฟอร์มคำขอมีบัตรประจำตัวลูกจ้างชั่วคราว

2. หากเป็นชุดปกติขาว สอบถามว่าเตรียมชุดมาเองหรือใช้ชุดที่งานผลิตสื่อฯ มีให้บริการ 

  • หากนำชุดมาเอง และมีเครื่องหมายครบแล้วนัดหมายวันเวลาถ่ายภาพ หากเป็นสตรีมุสลิมแจ้งเรื่องการคลุมฮิญาบ หากไม่ใช้ข้ามไปนัดหมายวันเวลาถ่ายภาพ 
  • หากไม่มีชุด ให้สอบถามขนาดตัวและแจ้งขนาดชุดที่งานผลิตสื่อฯ เตรียมให้บริการ แจ้งให้ผู้รับบริการเตรียมเสื้อเชิ้ตสีขาวมาเอง และ/หรือเชิญมาลองชุดก่อนได้ หากไม่มีขนาดที่เหมาะสมให้ผู้ขอรับบริการหาชุดมาเอง ส่วนการตัดต่อชุดปกติขาวให้พิจารณาเป็นทางเลือกสุดท้ายหรือเป็นราย ๆ ไป (เนื่องจากมีประสบการณ์ผู้ขอรับบริการไม่พึงพอใจภาพถ่ายที่สวมชุดที่งานผลิตสื่อฯ เตรียมไว้บริการเนื่องจากเสื้อไม่พอดีตัว ต่อมาจึงมีการแจ้งขนาดเสื้อที่มีให้บริการ หรือเชิญให้มาลองชุดก่อนที่จะนัดหมายถ่ายภาพ)

3. หากเป็นชุดปกติขาว (ต่อ)

สอบถามเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ต้องประดับ หากผู้ขอรับบริการไม่ทราบให้ค้นหาจากคอมพิวเตอร์ ชื่อไฟล์ “เครื่องราช 60+63.pdf” ที่วางอยู่ในโฟลเดอร์ภาพนิ่งติดบัตร หรือเลือกจาก shortcut บนหน้า desktop คอมพิวเตอร์สำหรับงานถ่ายภาพนิ่งหรือสอบถามจากส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร (ทอม.)

  • สำหรับสตรีมุสลิมคลุมฮิญาบสีดำ แจ้งให้ผู้ขอรับบริการจัดเตรียมฮิญาบมาเอง

ไฟล์ค้นหาเครื่องราช

 

ตัวอย่างการแต่งกายชุดปกติขาว

 

4. หากเป็นชุดสุภาพ ผู้ถ่ายภาพเตรียมชุดมาเอง หรือสวมสูททับ ซึ่งงานผลิตสื่อฯ มีให้บริการ

 ตัวอย่างการแต่งกายชุดสุภาพ

 

5. นัดหมายวันเวลาที่จะให้บริการถ่ายภาพ

นัดหมายวัน-เวลาที่จะถ่ายภาพ สอบถามชื่อ หน่วยงานที่สังกัด พร้อมเบอร์ติดต่อกลับ และทบทวนการแต่งกายเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง

6. ลงตารางนัดหมาย ลงข้อมูลการให้บริการในตารางการให้บริการงานผลิตสื่อการศึกษาฯ

 


วันนัดหมาย-ก่อนถึงเวลานัด

7. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับให้บริการ

      7.1  เตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพ อุปกรณ์ถ่ายภาพจัดเก็บอยู่ในห้องตัดต่อ 1 กล้องถ่ายรูป เลนส์  แฟลชจะเก็บอยู่ในตู้กันชื้น ส่วนแบตเตอรี่กล้องถ่ายรูปและเมมโมรีการ์ดจะเก็บอยู่ในชั้นเก็บอุปกรณ์ เมื่อเตรียมอุปกรณ์แต่ละอย่างเรียบร้อย จากนั้นประกอบกล้อง เลนส์และแฟลช

  • การเตรียมกล้องถ่ายรูป ตรวจเช็คการทำงานของกล้อง ระดับแบตเตอรี่ ใส่แบตเตอรี่ ใส่ memory card ให้พร้อม สำหรับแฟลชใส่ถ่าน/แบตเตอรี่ให้เรียบร้อย ตรวจสถานะให้พร้อมทำงาน

           สำหรับการตั้งค่ากล้อง DSLR มีรายละเอียดดังนี้
           - ISO 100, WB: Auto, Picture Style: Standard/portrait, Quality: JPFG ที่ความละเอียดสูงสุด หรือ Fine JPG หรือ JPG+raw
           - Mode: Manual, Shutter Speed: 125, F-stop 8/11/16

  • การเลือกใช้เลนส์ ใช้เลนส์ระยะมาตรฐาน (Fix เลนส์) ระยะ 50 mm. หรือ 85 mm. เหตุที่เลือกใช้เลนส์ 2 ระยะนี้ เพราะเป็นระยะเลนส์ที่แสดงภาพได้ความสมจริงเสมือนตาเห็น ตัวแบบไม่ผิดสัดส่วน อีกทั้งยังเป็นระยะเลนส์ที่เหมาะสมกับพื้นที่และการจัดวางอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องทำงานสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูป ไฟสตูดิโอ ฉากถ่ายภาพ จุดยืนถ่ายภาพ เมื่อถ่ายแล้วจะได้ภาพถ่ายในขนาดที่ต้องการ คือ ตัวแบบชัด ไม่ผิดสัดส่วน ไม่แคบหรือกว้างเกินไป และในภาพมีพื้นที่ด้านข้างตัวแบบไว้สำหรับปรับใช้งานในกรณีอื่นนอกเหนือจากงานติดบัตรประจำตัวพนักงาน หรือสามารถปรับเป็นภาพขนาดอื่นได้สะดวก อาทิ ภาพครึ่งตัว ภาพแนะนำบุคลากร หรือภาพประกอบเอกสาร สื่อนำเสนอ เป็นต้น
  • เตรียมแฟลช (Flash)  แฟลชแยก, แฟลชนอก หรือภาษาอังกฤษว่า External Flash ใช้ถ่านอัลคาไลน์ขนาด AA จำนวน 4 ก้อน 
    - ตรวจเช็คแบตเตอรรี่ ใส่ถ่านให้เรียบร้อย
    - ตรวจความพร้อมของแฟลช จากนั้นทดสอบกำลังไฟ หากแฟลชแสดงสถานะไฟพร้อมใช้ช้า ควรเปลี่ยนถ่านไฟชุดใหม่ ซึ่งถ่านสำรองจะเก็บอยู่ในตู้กันชื้น 
    - การตั้งค่าแฟลช 
        > ปรับให้เป็น Mode M (Manual) 
        > ตั้งกำลังไฟ 1/32± สำหรับตัวแบบผิวขาว, 1/16± สำหรับตัวแบบผิวสองสี (สามารถปรับตอนถ่ายตามความเหมาะสม แต่ภาพต้องไม่สว่างเกินไป) 
        > ปรับแฟลชให้สะท้อนเพดานเฉียงไปข้างหน้า (เข้าหาตัวแบบ) ทำมุมประมาณ 45 องศา หรือในระดับที่สามารถ sync การทำงานกับไฟสตูดิโอได้

กล้องถ่ายรูป

 

      7.2 การจัดเตรียมสถานที่ การจัดไฟในสตูดิโอ    

  • เตรียมฉาก ภาพติดบัตรประจำตัวพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้พื้นหลังสีฟ้า
  • ตรวจเช็คการทำงานของไฟสตูดิโอและการจัดไฟ การจัดไฟสตูดิโอจะใช้ไฟทั้งหมด 3 ดวง ไฟส่องตัวแบบ 2 ดวง และไฟส่องฉาก 1 ดวง เสียบปลั๊กให้เรียบร้อยพร้อมใช้งาน

     ไฟส่องตัวแบบ 2 ดวงจะจัดวางให้อยู่ด้านหน้าของตัวแบบเฉียงไปทางด้านซ้ายและขวาหันเข้าหาตัวแบบในองศาเดียวกัน เนื่องจากภาพบุคคลติดบัตรต้องการหน้าตาที่ชัดเจน จึงตั้งกำลังไฟทั้งสองดวงให้กำลังไฟเท่า ๆ กัน นอกจากไฟสองดวงจะให้ความสว่างแก่ตัวแบบแล้ว แสงของไฟจะกลายเป็นเงาที่ปรากฏในดวงตา เพิ่มพลังชีวิตให้กับรูปภาพอีกด้วย ดังนั้นขณะถ่ายภาพควรตั้งระยะไฟทั้งสองดวงให้อยู่ในระยะที่ปรากฏเป็นเงาในดวงตาของผู้มาถ่ายภาพด้วย

ภาพตัวอย่างการจัดไฟฯ
 
     

     ไฟส่องฉากเป็นไฟขนาดเล็ก วางอยู่หลังตัวแบบ หันไฟเข้าหาฉาก ตั้งไฟให้เฉียงขึ้น ปรับระยะความสูง/ต่ำตามความสูงของผู้ที่มาถ่ายภาพ เพิ่มมิติให้กับภาพ

ไฟส่องฉากหลัง

 

ตัวอย่างภาพไฟสะท้อนตา-เพิ่มมิติภาพ
 

8. ทดสอบการทำงานของกล้องถ่ายภาพและแฟลช

     เมื่อกดชัตเตอร์แล้วแฟลชต้องทำงาน หากแฟลชไม่ทำงาน ให้ลองตรวจดูว่าใส่แฟลชเข้ากับ hot shoe เรียบร้อยหรือไม่ ประกอบอุปกรณ์เรียบร้อยดีหรือไม่ หรือแบตเตอรี่อ่อน เป็นต้น 

9. ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมกัน

     เมื่อกดชัตเตอร์แล้วแฟลชต้องทำงาน แฟลชจะเป็นตัวสั่งการให้ไฟสตูดิโอทั้ง 3 ดวงทำงาน ขณะถ่ายภาพแสดงจากไฟสตูดิโอทั้ง 3 ดวงจะต้องออก ถ้าไฟหลักดวงใดดวงหนึ่งไม่ทำงาน ให้ปรับระยะแฟลชใหม่หรือสังเกตองศาการจัดวางไฟสตูดิโอ หรือตรวจดูว่ามีแสงจากแหล่งอื่นรบกวนการทำงานหรือไม่ 

ภาพแสดงการ sync กล้องและไฟสตู

 

10. เตรียมอุปกรณ์สำหรับการแต่งกาย และเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ 

  • ตรวจความพร้อม-เตรียมชุดและกล่องเครื่องหมาย/อุปกรณ์สำหรับการแต่งตัวพร้อมให้บริการ

          - ชุดปกติขาว: ชุด, เนคไทสีดำ (สำหรับสตรี), อินทรธนู, แพรแถบย่อ คลิปหนีบสีดำขนาดกลาง 2 ตัวสำหรับหนุนอินทรธนูให้ตั้งขึ้น คลิปหนีบสีดำขนาดใหญ่สำหรับใช้จับชุดให้กระชับตัวมากขึ้น

          - เสื้อสูท: เสื้อสูท

          - เตรียมอุปกรณ์เสริมบุคลิก อาทิ แป้ง, หวี

ตัวอย่างอุปกรณ์

 

  • เตรียมเอกสาร ประกอบด้วย แฟ้มลงข้อมูลการให้บริการถ่ายภาพนิ่งติดบัตร ชื่อแฟ้ม “งานภาพนิ่งติดบัตร” หมายเลขแฟ้ม MED-P004 และบัตรรับภาพ ซึ่งอยู่ในตู้ลิ้นชักวัสดุอุปกรณ์

          - แฟ้มงานภาพนิ่งติดบัตร MED-P004 เป็นแฟ้มสำหรับเก็บข้อมูลการให้บริการถ่ายภาพนิ่งติดบัตร/ภาพนิ่งบุคคล เพื่อนำไปกรอกลงตารางสรุปข้อมูลการให้บริการายเดือนต่อไป
  

ตัวอย่างแฟ้มภาพนิ่งติดบัตร
         

          - บัตรรับภาพ ตั้เป็นบัตรระบุรายละเอียดการให้บริการถ่ายภาพ ประกอบด้วยข้อมูลของผู้ขอรับบริการ ชื่อ-สกุล หน่วยงาน หมายแลขติดต่อกลับ การให้บริการถ่ายภาพวันที่ให้บริการและวันนัดหมายรับภาพและวันถ่ายภาพ จะมอบให้ผู้ขอรับบริการหลังถ่ายภาพเสร็จ

ตัวอย่างบัตรรับภาพ

 

เมื่อถึงเวลานัด

11. เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย

เมื่อผู้ขอรับบริการมาถึงตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้ เชิญให้ผู้ขอรับบริการเปลี่ยนชุดเป็นชุดที่จะใช้ถ่ายทำบัตร หากไม่ได้ลองชุดมาก่อน ให้ลองชุดจนได้ชุดที่พอใจ 
     สำหรับชุดขาว ติดอินทรธนู (เข็มและกระดุมติดไว้กับทุกชุดเรียบร้อยแล้ว) จากนั้นติดคลิปที่ด้านหลังอินทรธนู ติดแพรแถบย่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ได้ตรวจสอบแล้ว หลังจากเปลี่ยนชุดให้ผู้ขอรับบริการตรวจสอบความเรียบร้อยของตัวเอง เสื้อผ้า หน้า ผม (ถอดเครื่องประดับ) และให้ซับหน้าหรือทาแป้งฝุ่นที่ได้จัดไว้ให้ เพื่อลดความมันบนใบหน้าลดการสะท้อนแสงไฟบนผิวหน้าขณะถ่ายภาพ

    ขณะผู้ขอรับบริการกำลังเปลี่ยนชุด-ตรวจดูความเรียบร้อยของการแต่งกาย ผู้ให้บริการควรเตรียมสตูดิโอ-อุปกรณ์ถ่ายภาพให้พร้อม

ภาพเปรียบเทียบติดคลิป-ไม่ติดคลิป

 

12. เริ่มถ่ายภาพ เชิญผู้ขอรับบริการไปที่จุดถ่ายภาพ ซึ่งติดสัญลักษณ์รูปรอยรองเท้าแสดงไว้ที่พื้น 

จุดยืนถ่ายภาพ

     

     เมื่อยืนจุดที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ให้บริการจัดท่าทาง และตรวจสอบความเรียบร้อยให้กับผู้ขอรับบริการอีกครั้ง ตั้งแต่ทรงผม เสื้อผ้า เครื่องหมาย (ระยะอินทรธนู, เข็มที่ปกเสื้อ, กระดุม, แพรแถบ ฯ) สมดุลดีแล้วหรือไม่ รวมไปถึงการยืน แนะนำการยืน ยืดตัวไม่ห่อไหล่ จัดหน้าให้ตรง

     ผู้ให้บริการอาจจะแนะนำท่าทางขณะถ่ายภาพ เช่น การอมยิ้ม เทคนิคการยืนที่ช่วยพรางหุ่นหรือชวนพูดคุยเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย เป็นต้น

     ก่อนกดชัตเตอร์ควรดูภาพรวมทั้งหมดผ่านช่องมองภาพอีกครั้ง ปรับให้พอใจแล้วจึงกดชัตเตอร์ ขณะถ่ายสามารถถ่ายภาพใน action อื่น ๆ เผื่อไว้ใช้ในโอกาสอื่นได้

13. ตรวจสอบภาพ  ก่อนจบการทำงานให้ตรวจสอบภาพที่ได้ก่อน หากไม่พอใจหรือยังมีความบกพร่องที่ควรแก้ไข ให้ถ่ายใหม่จนได้ภาพที่ต้องการ

ตัวอย่างภาพที่ถ่ายได้


หลังถ่ายเสร็จ

เมื่อถ่ายเสร็จแล้ว เชิญผู้รับบริการเปลี่ยนชุด เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการปิดระบบการทำงานไฟสตูดิโอ อุปกรณ์ถ่ายภาพ จากนั้น  

14. ให้ผู้รับบริการเขียนข้อมูลลงในแบบฟอร์มการให้บริการถ่ายภาพนิ่งติดบัตร

ซึ่งอยู่ในแฟ้ม “งานภาพนิ่งติดบัตร” รหัสแฟ้ม MED-P004 หากต้องการไฟล์ภาพให้ระบุอีเมล์ที่จะรับไฟล์ภาพ

15. ผู้ให้บริการสอบถามจำนวนที่ต้องการ พร้อมแจ้งค่าใช้จ่าย

  • อัตราค่าบริการถ่ายภาพนิ่งติดบัตรประจำตัวพนักงานโหลละ 100 บาท ครึ่งโหล 60 บาท
  • หากต้องการเฉพาะไฟล์ ค่าบริการไฟล์ละ 50 บาท 

16. ออกบัตรรับภาพ

เมื่อเขียนข้อมูลลงในแฟ้มฯ เสร็จแล้ว ผู้ให้บริการออกบัตรรับภาพแก่ผู้รับบริการ บัตรรับภาพนี้จะนำไปยื่นเป็นหลักฐานเพื่อชำระเงิน พร้อมแนะนำวิธีการชำระเงิน

    การชำระเงินค่าบริการถ่ายภาพ ชำระได้ 2 ช่องทางคือ 1.ชำระที่ฝ่ายบริหารทั่วไปฯ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา หรือที่ส่วนการเงินและบัญชี และแจ้งการนัดรับภาพ ผู้ขอรับบริการจะต้องนำบัตรรับภาพที่มีลายมือชื่อการรับเงิน หรือใบเสร็จรับเงินมายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับภาพ

ตัวอย่างบัตรรับภาพที่เขียนเสร็จแล้ว

 

17.  เจ้าหน้าที่เก็บอุปกรณ์ทั้งหมดกลับเข้าที่ 

18. โหลดภาพถ่ายเข้าคลังเก็บภาพรอดำเนินการตกแต่งและพิมพ์ภาพต่อไป

folder ภาพติดบัตร

 

19. จบการทำงาน


    

Back to Top