โครงสร้างการบริหารจัดการ

Posted on Mon, 08/16/2021 - 14:50 by Kritsana_Satapong

     ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีโครงสร้างการบริหารงานโดยมีผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการกำกับดูแลและมีคณะกรรมการประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาของศูนย์ และมีหัวหน้าฝ่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สนับสนุนภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมต่างๆ ทรัพยากรสารสนเทศ สื่อการเรียนการสอน ฐานข้อมูล ให้บริการผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา ให้บริการโสตทัศนูปกรณ์ ผลิตเอกสารเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการสอบ โดยแบ่งโครงสร้างองค์กรออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้ (ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ เรื่อง การแบ่งส่วนงานของสำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา ศูนย์ สถาบัน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2562, 2562) 

  1. ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ
  2. ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  3. ฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา 
  4. ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

โครงสร้างฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ   >> คลิกที่นี่ <<

     ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน นำมาจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐานสากลในการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและสะดวกทุกที่ ทุกเวลา โดยผ่านดรรชนีคำค้นและเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ มีการซ่อมแซมและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น รวมทั้งจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหา นอกจากนี้ยังมีการรวบรวม จัดเก็บ และให้บริการฐานข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ และคลังสารสนเทศสถาบัน โดยฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีการแบ่งงานออกเป็น 4 งานด้วยกันดังนี้

     1. งานจัดหาพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้าง Collection ทรัพยากร สารสนเทศให้ครบถ้วนและเพียงต่อในการสนับสนุนการเรียนการสอนครบทุกหลักสูตร โดยวิธีการจัดซื้อหนังสือ/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/สื่อการศึกษา ตามกระบวนการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศภายใต้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการจัดซื้อตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

     2. งานจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ รับผิดชอบในการสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ วิเคราะห์ หมวดหมู่และกำหนดหัวเรื่อง ดรรชนีคำค้น และเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและตรงกับต้องการมากที่สุด โดยผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAIi AutoLib และช่องทางอื่น ๆ ที่มีให้บริการ

     3. งานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องและฐานข้อมูลออนไลน์ รับผิดชอบการสำรวจความต้องการใช้งานของวารสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และฐานข้อมูลออนไลน์ทั้งสหสาขาวิชาและเฉพาะสาขาวิชา จัดหาโดยการบอกรับเป็นสมาชิกและต่อายุการใช้งานทั้งในรูปแบบที่เป็นฉบับพิมพ์และออนไลน์ รวมถึงการจัดทำดรรชนีวารสารเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศประเภทบทความวิชาการ ได้อย่างรวดเร็ว

     4. งานจดหมายเหตุและคลังสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ รับผิดชอบในการจัดเก็บ วิเคราะห์หมวดหมู่และกำหนดหัวเรื่องและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศโครงการพิเศษและเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย จัดทำฐานข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุและเอกสารโครงการพิเศษ จัดทำ Digital Content ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ และจัดทำคลังสารสนเทศสถาบัน หรือ WU IR (Walailak Institutional Repository)

 

Back to Top