ผังงานและขั้นตอนการปฏิบัติงาน

Posted on Tue, 01/18/2022 - 09:20 by Somsak_Pratoomthong

ผังงาน (Flow Chart) การผลิตสำเนาข้อสอบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การผลิตสำเนาข้อสอบ

 

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  1. เบิกกุญแจตู้เก็บต้นฉบับข้อสอบจากหัวหน้างาน และนําซองข้อสอบจากตู้เก็บข้อสอบ มอบให้อาจารย์ผู้ควบคุมพิมพ์ข้อสอบตรวจสอบความถูกต้อง
     
  2. อาจารย์ผู้ควบคุมการผลิตข้อสอบตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของต้นฉบับข้อสอบที่อยู่ในซอง และมอบให้ผู้ปฎิบัติงานจัดพิมพ์ข้อสอบนําต้นฉบับที่สมบูรณ์ไปผลิตสําเนาตามจํานวนนักศึกษาที่ศูนย์บริการการศึกษากําหนดไว้ในตารางสอบ 
    2.1 การค้นหารายวิชาจากตารางสอบส่งศูนย์บรรณสารฯ ตัวอย่าง การค้นหาของรายวิชา MTH60-233*  เริ่มจากดูวันที่, เวลา, และรายวิชา ตามลำดับ

    2.1

    2.2 บันทึกจำนวนชุดข้อสอบที่ได้จากการค้นหาในตารางสอบส่งศูนย์บรรณสารฯ ไว้ในแบบสำรวจข้อสอบ ดังรูป

    2.2

    กรณีอาจารย์ควบคุมการผลิตข้อสอบตรวจสอบพบปัญหาของต้นฉบับ เช่น ภาพไม่ชัด เลขลำดับข้อและรายละเอียดหน้าข้อสอบไม่ครบอาจารย์ผู้ควบคุมการผลิตข้อสอบได้มอบหมาย ให้ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขข้อสอบโดยประสานไปยังเจ้าของรายวิชานั้น ๆ บอกรายละเอียดของปัญหาที่เกิดกับข้อสอบ
     
  3. ผู้ปฏิบัติงาน นําต้นฉบับข้อสอบสมบูรณ์ถูกต้องไปพิมพ์การผลิตสําเนาตามจํานวนนักศึกษาในตารางสอบที่ศูนย์บริการการศึกษากําหนด และนําข้อสอบที่สําเนาแล้ว ให้อาจารย์ผู้ควบคุมผลิตข้อสอบ ตรวจทานความถูกต้องระหว่างต้นฉบับและสำเนาข้อสอบที่ผลิตเสร็จแล้ว

    ขั้นตอนการใช้เครื่องผลิตสำเนาดิจิทัล Ricoh pro 8310s
         3.1 เลือกไอคอน Copier 

    3.1

         3.2 ปรากฏหน้าต่างกรอกรหัส กรอกรหัสผ่านตามสำนักวิชาที่ระบุไว้ กดปุ่ม OK

    3.2

         3.3 เลือก text and photo (กรณีข้อสอบมีภาพประกอบ)
         3.4 เลือกการจัดชุด Staple
         3.5 เลือกเมนู Dup/Combine/Series
         3.6 เลือกการสำเนาแบบ 2 Sided-2 Sided  (กรณีสำเนาเหมือนต้นฉบับ)
         3.7 กดแป้นพิมพ์จำนวนชุดข้อสอบ
         3.8 กดปุ่ม Sample copy เป็นการดูตัวอย่าง เพื่อตรวจทานระหว่างต้นฉบับและสำเนาข้อสอบ
         3.9 กดปุ่ม start เริ่มการสำเนาข้อสอบ
    3.3
     
  4. อาจารย์ผู้ควบคุมการผลิตข้อสอบตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อสอบที่ผลิตสําเนาแล้ว พร้อมลงลายมือชื่อกํากับของแบบสํารวจข้อสอบ (ผู้ตรวจข้อสอบ) และในตารางจัดทําข้อสอบของรายวิชานั้นในช่อง (ผู้ตรวจเช็คข้อสอบ) 
         4.1 ลงลายมือชื่อกำกับในแบบสำรวจข้อสอบ (ผู้ตรวจสอบข้อสอบ)

    4.1

         4.2 ลงลายมือชื่อกำกับในตารางจัดทําข้อสอบ (ผู้ตรวจเช็คข้อสอบ) 

    4.2

    กรณีอาจารย์ควบคุมการผลิตข้อสอบตรวจสอบพบปัญหาของสำเนา เช่น ภาพไม่ชัด หน้าข้อสอบไม่ครบ ให้ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขข้อสอบในส่วนที่มีปัญหาให้ถูกต้องแล้วให้อาจารย์ผู้ควบคุมการผลิตข้อสอบตรวจสอบใหม่
     
  5. ผู้ปฏิบัติงานนำข้อสอบบรรจุซองตามจํานวนนักศึกษาที่ศูนย์บริการการศึกษากําหนดไว้ในใบปะหน้าซองข้อสอบ พร้อมลงลายมือชื่อกํากับซอง 

    ขั้นตอนการเตรียมซองและบรรจุซองข้อสอบ
    5.1 เตรียมใบปะหน้าซองข้อสอบ (ศูนย์บริการศึกษาจัดเตรียมให้)

    5.1

    5.2 เลือกรายวิชาที่ต้องการปะหน้าซองโดยดูรายละเอียดจากแบบสำรวจข้อสอบ 
          - จำนวนข้อสอบ  (รายละเอียดจำนวนชุดใบปะหน้าซองข้อสอบ)
          - กระดาษคำตอบอัตนัย
          - กระดาษคำตอบปรนัย
          - กระดาษทด
          - กระดาษกราฟ

    5.2

    5.3 เขียนรายละเอียดจำนวนชุด กระดาษคำตอบ 
    5.4 เขียนท้ายซองข้อสอบโดยเรียงตามลำดับ รหัสวิชา, วันที่สอบ, เวลาสอบ, ห้องสอบ (ไม่ต้องเขียนท้ายซองกระดาษคำตอบปรนัย)

    5.3

    5.5 บรรจุข้อสอบ และกระดาษคำตอบตามจำนวนที่ระบุ
    5.6 ปิดผนึกซองข้อสอบ เซ็นต์ชื่อกำกับระหว่างซองข้อสอบและเทปกาว และรวบรวมข้อสอบกระดาษไว้ตามห้องสอบ

    5.6
     
  6. เขียนรายละเอียดจำนวนซองข้อสอบ ซองกระดาษคำตอบ ซองกระดาษทด และกรอกข้อมูลแต่ละรายวิชาในใบเซ็นชื่อรับ-ส่งข้อสอบ
    6.1 อาคารสอบ (ST)
    6.2 จำนวนซองข้อสอบ  (ข.5)
    6.3 จำนวนซองกระดาษคำตอบปรนัยหรือกระดาษคำตอบอัตนัย (ต.5)
    6.4 จำนวนมัดข้อสอบ (2 มัด)

    6.1

    6.5 การลงข้อมูลในใบเซ็นชื่อรับ-ส่งข้อสอบ จำนวนซองข้อสอบ ซองกระดาษคำตอบ ซองกระดาษทด (ถ้ามี) ซองกระดาษกราฟ (ถ้ามี)

    6.5
     
  7. เก็บซองข้อสอบที่เสร็จสิ้นเข้าตู้เก็บข้อสอบ แยกตามวันที่สอบเพื่อจัดส่งให้คณะกรรมกลาง (ศูนย์บริการการศึกษา) ในวันสอบและอาคารเรียนรวมต่าง ๆ 

    ตู้เก็บข้อสอบ
  8. จบการทำงาน
Back to Top