Work Manual

Posted on Tue, 08/10/2021 - 14:12 by Aporn_Chaisuwan

การตรวจสอบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

          อธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนงานการตรวจสอบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม  ที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของที่มาของสารสนเทศที่นำมาแสดงในผลงานวิชาการ ทั้งวิทยานิพนธ์ การศึกษาอิสระ โครงงาน และปริญญานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้มีความถูกต้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด และแสดงถึงการแสดงเจตจำนงค์ในการไม่ละเมิดลิขสิทธ์ของผู้อื่น 

1

 

Posted on Wed, 08/11/2021 - 14:04 by Rochana_Madla

การลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib

            การลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรม  เป็นการลงรายละเอียดข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศเพื่ออธิบายลักษณะและเนื้อหาของสารสนเทศ อันจะเป็นช่องทางการเข้าถึงรายการทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องตรงตามความต้องการ รวมถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะและรูปแบบที่แตกต่างจากหนังสือทั่วไปด้วย ในคู่มือนี้อธิบายรายละเอึยดการลงรายการลงในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้สะดวก รวดเร็ว และทราบว่าเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากหน้าจอแสดงผล รวมถึงสามารถเข้าอ่านฉบับเต็มของตัวเล่มได้

รจนา

Posted on Mon, 08/16/2021 - 14:09 by Khanitta_Jitlang

การสร้าง Category และ Tag Cloud เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงทรัพยากรในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

       การสร้าง Category และ Tag Cloud เป็นการจัดกลุ่มทรัพยากรประเภทหนังสือให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้ หรือสืบค้น โดยการสร้าง Category ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มทรัพยากรด้วยชื่อหลักสูตรและรายวิชา และการติด Tag Cloud ด้วยรหัสรายวิชาของแต่ละหลักสูตร

1

Posted on Tue, 08/10/2021 - 14:20 by Patcharin_Pawikanon

การเสนอเอกสารผู้บริหารผ่านระบบบริหารจัดการสำนักงานดิจิทัล (DOMS)

         การเสนอเอกสารผู้บริหารผ่านระบบบริหารจัดการสำนักงานดิจิทัล (DOMS)  คือการเสนอเอกสารผู้บริหารที่ผ่านการดำเนินการชั้นต้นเสร็จแล้ว เสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณา บันทึก สั่งการ ทราบและลงชื่อ โดยดำเนินการผ่านระบบบริหารจัดการสำนักงานดิจิทัล (DOMS) เพื่อลดการใช้กระดาษและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งเอกสาร

cover

Posted on Wed, 08/11/2021 - 14:03 by Nassara_Jampaklai

การแปลงเอกสารจดหมายเหตุในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล

             งานจดหมายเหตุและคลังสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนงานการจัดการเอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ในการสงวนรักษา จัดเก็บ เผยแพร่และให้บริการผู้ใช้ กระบวนงานที่งานจดหมายเหตุฯ ได้นำมาใช้ได้แก่ การอนุรักษ์ สงวนรักษาและจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ ด้วยวิธีการแปลงเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นกระดาษให้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสแกนเอกสารให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล เพื่อเป็นการสงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุต้นฉบับไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหายในระหว่างหยิบจับเอกสารต้นฉบับ และเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน รวมถึงการแบ่งปันหรือใช้ข้อมูลร่วมกันได้

      cover

Posted on Mon, 08/16/2021 - 14:06 by Kittiporn_Sriphet

การใช้งานฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : eBook Academic Collections

    อธิบายขั้นตอนการใช้งานฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : eBook Academic Collections ของบริษัท EBSCO ผ่านเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้อย่างถูกต้อง

sd

 

Posted on Wed, 08/11/2021 - 14:08 by Thantapat_Doungchan

การเตรียมเอกสารก่อนการจัดทำใบขอซื้อขอจ้าง (PR) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง (กรณีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท)

              คู่มือการปฏิบัติงานการเตรียมเอกสารก่อนการจัดทำใบขอซื้อขอจ้าง (PR)โดยวิธีเฉพาะเจาะจง (กรณีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท) เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงานมีแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และไม่ขัดแย้งกับระเบียบฯ ซึ่งถึงแม้ว่าเป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นคือการเตรียมเอกสาร ยังไม่ถึงการทำใบขอซื้อขอจ้าง (PR) ก็ตาม แต่หากผู้ปฏิบัติงานไม่ระมัดระวัง หรือขาดความรอบคอบ อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้เช่นกัน เช่น ต้องส่งเอกสารกลับมาแก้ไขซึ่งอาจทำให้เสียเวลา และได้รับพัสดุช้ากว่ากำหนด นอกจากนี้ยังต้องอาศัยการประสานงานกับส่วนพัสดุเพื่อให้การจัดซื้อเป็นไปอย่างถูกต้องและราบรื่น และมีมาตรฐานตามระเบียบพัสดุฯ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

4

Posted on Mon, 08/16/2021 - 14:07 by Kraison_Kaewoudom

การใช้งานโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุม 100 ที่นั่ง อาคารวิชาการ

             ห้องประชุม 100 ที่นั่งอาคารวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นห้องประชุมที่เน้นใช้งานสำหรับการจัดประชุมสัมมนา การเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ เน้นกิจกรรมของสำนักวิชาเป็นหลัก โดยห้องประชุม 100 ที่นั่ง  อยู่ในอาคารวิชาการ 1 - 4 และอาคารวิชาการ 7-8  ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของอาคาร ชั้น 1 โดยมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเวทีและโต๊ะเก้าอี้  และห้องประชุมจะบุด้วยวัสดุซับเสียงอย่างดีป้องกันเสียงก้องและเสียงสะท้อนรวมจากการใช้งานของอุปกรณ์  และมีระบบโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัย และรวมถึงการบริการชุดประชุมทางไกลด้วยระบบ Video Conferences และใช้งานผ่าน zoom meeting และแอฟพลิเคชั่นอื่น ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารช่วยให้กิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ  คู่มือนี้จะอธิบายการใช้งานโสตทัศนูปกรณ์ในห้องประชุม 100 ที่นั่ง ของทุกอาคาร 

Cover

Posted on Wed, 08/11/2021 - 14:08 by Somsak_Pratoomthong

การลงรับข้อสอบใน "ระบบขอใช้บริการงานผลิตเอกสารกลาง ศูนย์บรรณสารฯ"

          ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการผลิตสำเนาข้อสอบเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้กับรายวิชาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มเปิดการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2541 และได้ดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเปิดสำนักวิชาใหม่เพิ่มขึ้น ในปี 2564 มหาวิทยาลัยมีสำนักวิชาจำนวน 14 สำนักวิชา 4 วิทยาลัย และมีรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษากว่า 950 รายวิชา

         ในปี พ.ศ. 2557 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้นำระบบการขอใช้บริการงานผลิตเอกสาร เข้ามาช่วยในการรับ-ส่ง ไฟล์เอกสารและข้อสอบจากผู้ใช้บริการ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกแก่การทำงาน มีความถูกต้อง ปลอดภัย ลดปัญหาของการทำงานโดยใช้กระดาษ และยังใช้เป็นหลักฐานการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

cover

Posted on Wed, 08/11/2021 - 14:10 by Kanokwan_Krainukool

การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้วยระบบ L.C.

         การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้วยระบบ L.C. เป็นการจัดระบบสำหรับจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ แบ่งเนื้อหาตามระบบการจัดหมวดหมู่ที่นำมาใช้ เน้นทรัพยากรสารสนเทศด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หมวดหมู่ A-P  อธิบายขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนงานตั้งแต่รับทรัพยากรสารสนเทศใหม่จากงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเลขเรียกหนังสือในฐานข้อมูล ดำเนินการจัดหมวดหมู่และกำหนดเลขผู้แต่ง กรอกข้อมูล Tag 050  ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเขียนเลขเรียกหนังสือด้านหลังหน้าปกใน

cover

Back to Top