ผังงานและขั้นตอนการปฏิบัติงาน

Posted on Mon, 08/16/2021 - 15:29 by Kraisorn_Saivaree

ผังงาน (Flow Chart)

ในการดำเนินงานผลิตรายการ "วลัยลักษณ์สู่สังคม" มีหน่วยงานร่วมผลิตรายการ 3 หน่วยงานคือ

  •  ศูนย์บริการวิชาการ ทำหน้าที่อำนวยการผลิต ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการและร่วมกับ สถานีวิทยุโทรทัศน์ จังหวัดนครศรีธรรมราชออกอากาศรายการ "วลัยลักษณ์สู่สังคม"
  •  ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ประสานงานตรวจสอบตารางงานและลงตารางงานเพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมการถ่ายทำและถ่ายทำรายการ  รวมทั้งการตัดต่อจนเสร็จสมบูรณ์รวมทั้งเผยแพร่ทางสื่อ เผยแพร่ทาง Social media Facebook และ ช่อง Youtube รายการวลัยลักษณ์สู่สังคม
  • ส่วนสื่อสารองค์กรทำหน้าที่ดำเนินรายการเป็นพิธีกร และ เผยแพร่วีดิทัศน์ทางช่อง WALAILAK CHANNEL

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. ศูนย์บริการวิชาการประสานงานแจ้งกำหนดการผลิตรายการโดยกำหนดประเด็นเนื้อหาการถ่ายทำและวัน - เวลาสถานที่บันทึกรายการ

ins5

ทั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ ทำหน้าที่อำนวยการผลิต ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ มีรายละเอียดดังนี้

      - จัดทำเนื้หา

      - จัดทำโครงร่างเพื่อความลื่นไหลของเนื้อหา

      - จัดทำ Story board

      - จัดทำสคริปต์ (ร่วมกับส่วนสื่อสารอง์กร)

      - ร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช ออกอากาศรายการ "วลัยลักษณ์สู่สังคม"

2.ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ประสานงานตรวจสอบตารางงานและลงตารางงานเพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมการถ่ายทำดังมีรายละเอียดดังนี้

     - เตรียมสถานที่ถ่ายทำ  ถ่ายทำใน Studio และถ่ายทำนอกสถานที่

     - เตรียมวิธีการถ่ายทำและบันทึกเสียง

     - ตรวจสอบความพร้อมและเตรียมอุปกรณ์สำหรับการถ่ายทำ เช่น กล้อง ขาตั้งกล้อง จอภาพ โคมไฟ เป็นต้น

     - เตรียมความพร้อมของคณะทำงาน  

3. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาและคณะทำงานบันทึกรายการตามกำหนดการที่ศูนย์บริการวิชาการประสานงาน

ins1

     3.1 กรณีถ่ายทำในห้อง Studio ต้องมีองค์ประกอบดังนี้

          - องค์ประกอบฉาก

          - แสง

          -  ลักษณะการถ่ายทำของกล้อง

          -  เทคนิคต่าง ๆ ในการถ่ายทำ

          - ความต่อเนื่องของวีดิทัศน์

     3.2 กรณีถ่ายทำนอกสถานที่ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้

          -  สำรวจสถานที่

          - ประชุมทีมงานและเตรียมอุปกรณ์

          - เตรียมการถ่ายทำ

          - ถ่ายทำ

          - เทคนิคต่าง ๆ ในการถ่ายทำ

          - ความต่อเนื่องของวีดิทัศน์

4. เตรียมข้อมูลภาพประกอบรายการจากคลังวิดีโอและขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือถ่ายเพิ่มเติมเพื่อเข้าสู่กระบวนการตัดต่อต่อไป

ins3

5. เข้าสู่กระบวนการตัดต่อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญ การตัดต่อที่ดีจะทำให้วีดิทัศน์มีความน่าสนใจ ขั้นตอนนี้จึงต้องมีความถูกต้องและพิถีพิถัน

  5.1 การตัดต่อโดยใช้อุปกรณ์ดังนี้

     - เครื่องคอมพิวเตอร์

     - กล้องถ่ายวีดิโอ

     - เคปเจอร์การ์ด

     - แผ่นสำหรับบันทึกข้อมูล

     - อุปกรณ์สำหรับเขียนแผ่น DVD

  5.1 ตัดต่อโดยใช้โปรแกรมตัดต่อ (final cut pro) และโปรแกรมประกอบอื่น ๆ โดยมีวิธีการดังนี้

      - ตัดต่องานตาม Story Board

      - โอนไฟล์ข้อมูล องค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะตัดต่อลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง เป็นต้น

      -  ตัดต่องานวีดิโอ การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นเนื้องานเดียวกัน งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ การตัดต่อที่ดีจะทำให้วีดิโอน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

      -  การใส่เอฟเฟค/ตัดต่อเสียง ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  5.2 การบันทึกวีดิโอเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการตัดต่องาน

ins4

6. หลังจากตัดต่อเสร็จต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของวีดิโอ

    - ตรวจสอบความคมชัดของไฟล์

   -  ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

   -  อื่น ๆ

7.  หลังจากตรวจสอบความถูกต้องแล้วให้ Rander ไฟล์ เป็น MP4 หรือไฟล์อย่างอื่นตามวัตถุประสงค์ของผู้ขอใช้บริการ

8.  รายการตัดต่อสมบูรณ์แล้วพร้อมเผยแพร่

ins4

     - บันทึกลงแผ่น DVD เป็นไฟล์ข้อมูลเพื่อนำไปออกอากาศ

     - upload รายการเผยแพร่ทาง Social media Facebook และ ช่อง Youtube รายการวลัยลักษณ์สู่สังคม

ins5

 

9 ส่งลิงค์ให้ส่วนสื่อสารองค์กรเพื่อเผยแพร่ตามช่องทางของมหาวิทยาลัย

ins4

ins5

10.จบการทำงาน

 

 

Back to Top