ภาคผนวก

Posted on Mon, 03/07/2022 - 14:43 by Kanokwan_Krainukool

หลักเกณฑ์ในการลงรายการ Tag 600, 610, 611, 630, 650 และ 651
     Tag 600 หัวเรื่องที่เป็นชื่อบุคคล (Subject Added Entry - Personal Name)
        ตัวบ่งชี้ที่ 1 
            0   ชื่อต้น (Forename)                                                                                                               
            1   ชื่อสกุล (Surname)
            3   ชื่อวงศ์ตระกูล (Family name)
        ตัวบ่งชี้ที่ 2
            0   หั วเรื่องของ Library of Congress Subject Headings
            1   หัวเรื่องของ LC subject headings for children’s literature
            2   หัวเรื่องทางการแพทย์ Medical Subject Headings
            4   ไม่ระบุคู่มือ Source not specified
        เขตข้อมูลย่อย 
            $a   ชื่อบุคคล
            $b   เลขโรมันตามหลังชื่อบุคคล
            $c   ตำแหน่ง ยศ บรรดาศักดิ์ และคำที่เกี่ยวข้องกับบุคคล
            $d   ปีเกิด ปีตาย
            $h   สื่อ
            $x   หัวเรื่องย่อยทั่วไป
            $y   หัวเรื่องย่อยตามช่วงเวลา
            $z   หัวเรื่องย่อยตามเขตภูมิศาสตร์


    Tag 610 หัวเรื่องที่เป็นชื่อนิติบุคคล (Subject Added Entry - Corporate Name)
        ตัวบ่งชี้ที่ 1 
            1    Jurisdiction name
            2    Name in direct order
         ตัวบ่งชี้ที่ 2
            0    หัวเรื่องของ Library of Congress Subject Headings
            1    หัวเรื่องของ LC subject headings for children’s literature
            2    หัวเรื่องทางการแพทย์ Medical Subject Headings
            4    ไม่ระบุคู่มือ Source not specified
         เขตข้อมูลย่อย 
            $a   ชื่อหน่วยงานหลัก
            $b   ชื่อหน่วยงานรอง


    Tag 611 หัวเรื่องที่เป็นชื่อการประชุม (Subject Added Entry - Meeting Name)
        ตัวบ่งชี้ที่ 1 
            1    Jurisdiction name
            2    Name in direct order
        เขตข้อมูลย่อย 
            $a   ชื่อการประชุม
            $c   สถานที่จัดประชุม
            $d   ปีที่จัดประชุม


    Tag 630 หัวเรื่องที่เป็นชื่อเรื่องแบบฉบับ (Subject Added Entry - Uniform Title)
        ตัวบ่งชี้ที่ 1
            0-9   Number of characters present
        ตัวบ่งชี้ที่ 2
            0     หัวเรื่องของ Library of Congress Subject Headings
            1     หัวเรื่องของ LC subject headings for children’s literature
            2     หัวเรื่องทางการแพทย์ Medical Subject Headings
            4     ไม่ระบุคู่มือ Source not specified
         เขตข้อมูลย่อย 
            $a   หัวเรื่องที่เป็นชื่อเรื่องแบบฉบับ
            $v   หัวเรื่องแบ่งย่อยงาน
            $x   หัวเรื่องย่อยทั่วไป
            $y   หัวเรื่องย่อยตามช่วงเวลา
            $z   หัวเรื่องย่อยตามเขตภูมิศาสตร์

    Tag 650 หัวเรื่องทั่วไป (Subject Added Entry - Topical Term)
        ตัวบ่งชี้ที่ 1 ระบุค่าที่แสดงระดับของหัวเรื่อง โดยปกติจะเป็น # เสมอ
             #    ไม่มีข้อมูลบ่งบอกหรือไม่มีข้อมูลมาให้
         ตัวบ่งชี้ที่ 2
             0     หัวเรื่องของ Library of Congress Subject Headings
             1     หัวเรื่องของ LC subject headings for children’s literature
             2     หัวเรื่องทางการแพทย์ Medical Subject Headings
             4    ไม่ระบุคู่มือ Source not specified
           เขตข้อมูลย่อย 
              $a   หัวเรื่องทั่วไป
              $e   คำที่เกี่ยวข้อง                                          
              $v   หัวเรื่องแบ่งย่อยงาน
              $x   หัวเรื่องย่อยทั่วไป
              $y   หัวเรื่องย่อยตามช่วงเวลา
              $z   หัวเรื่องย่อยตามเขตภูมิศาสตร์

     Tag 651 หัวเรื่องที่เป็นทางภูมิศาสตร์ชื่อภูมิศาสตร์ (Subject Added Entry - Geographic Name)
          ตัวบ่งชี้ที่ 1  ไม่ระบุ (Undefined)
          ตัวบ่งชี้ที่ 2
              0    หัวเรื่องของ Library of Congress Subject Headings
              1    หัวเรื่องของ LC subject headings for children’s literature
              2    หัวเรื่องทางการแพทย์ Medical Subject Headings
              4    ไม่ระบุคู่มือ Source not specified
           เขตข้อมูลย่อย 
              $a   หัวเรื่องทั่วไป
              $e   คำที่เกี่ยวข้อง                                          
              $v   หัวเรื่องแบ่งย่อยงาน
              $x   หัวเรื่องย่อยทั่วไป
              $y   หัวเรื่องย่อยตามช่วงเวลา
              $z   หัวเรื่องย่อยตามเขตภูมิศาสตร์

หลักเกณฑ์ในการกำหนดหัวเรื่อง
      เริ่มต้นจากการอ่านชื่อเรื่องจากหน้าปกใน สารบัญ คำนำหรือบทนำ  ถ้าอ่านแล้วยังสรุปไม่ได้ก็ต้องอ่านจากเนื้อหาของหนังสือบางส่วนหรือทั้งหมดถ้าจำเป็น  ถ้ายังไม่สามารถสรุปเนื้อหาว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไรได้อีก ก็ให้ตรวจสอบดูจากแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม เป็นต้น เมื่อสรุปเนื้อหาได้แล้ว โดยการสรุปเป็นคำหรือวลี ก็จะต้องนำคำหรือวลีนั้นไปตรวจสอบกับบัญชีหัวเรื่องจากหนังสือรวบรวมหัวเรื่องที่มีผู้จัดพิมพ์ไว้แล้ว  เพื่อตรวจสอบดูว่าคำหรือวลีนั้นใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่
 
ลักษณะของหัวเรื่อง
      การกำหนดหัวเรื่องมักจะอาศัยความหมายของเลขหมู่หนังสือเป็นเกณฑ์ หัวเรื่องของหนังสือจะสอดคล้องกับเลขหมู่  หนังสือเล่มหนึ่ง ๆ อาจจะมีหัวเรื่องเพียงหนึ่งหัวเรื่อง หรือหลายหัวเรื่องก็ได้  ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณารักษ์ หรือความจำเป็นในการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน  แต่ต้องคำนึงถึงหนังสือที่มีเนื้อหาอย่างเดียวกัน ต้องใช้หัวเรื่องเดียวกัน  ในการกำหนดหัวเรื่องมีหลักในการกำหนดคำหรือวลีที่นำมาใช้เป็นหัวเรื่องดังนี้
     1.    เป็นคำที่รู้จักกันแพร่หลาย
     2.    เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเนื้อหาของหนังสือมากที่สุด
     3.    เป็นศัพท์เฉพาะทางเทคนิค หรือ วิชาการ
     4.    เป็นคำที่ถูกต้องในแง่ของภาษา    

โครงสร้างของหัวเรื่อง
              หัวเรื่องมี 2 ประเภท คือ  
                 1.  หัวเรื่องใหญ่หรือหัวเรื่องเฉพาะ เป็นคำนามทีเป็นคำเดียวหรือคำนาม 2 คำเชื่อมกันด้วยสันธาน “กับ” และ “และ”  หัวเรื่องประเภทนี้ใช้กับหนังสือที่มีเนื้อเรื่อง 2 เนื้อเรื่องหรือเนื้อเรื่องที่สัมพันธ์กัน เช่น   
                     

                      ความคิดและการคิด
                                      
                  หรือถ้าเนื้อเรื่องไม่สัมพันธ์กัน  แต่เขียนให้สัมพันธ์กันโดยใช้คำว่า  “กับ”  เชื่อม เช่น

                      กฎหมายกับการเมือง

                  หรือหัวเรื่องที่เป็นกลุ่มคำ  ประกอบด้วยคำหลายคำเรียบเรียงกันเป็นข้อความที่ได้ใจความ เช่น

                       การกดจุด
                       การกราบพระ


                  หรือเป็นหัวเรื่องที่มีคำอธิบายประกอบ  เพราะคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเป็นหัวเรื่องนั้น  อาจจะมีความหมายหลายอย่างได้ โดยใส่คำอธิบายไว้ในวงเล็บ เช่น

                       ศรัทธา (พุทธศาสนา)
                       ไทย (ภาคใต้)

                 2.  หัวเรื่องย่อย  เป็นหัวเรื่องที่กำหนดขึ้นใช้ตามหลังหัวเรื่องใหญ่  เพื่อกำหนดขอบเขตหรือความหมายของหัวเรื่องดังกล่าวให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น  หัวเรื่องย่อยที่ใช้ตามหลังหัวเรื่องใหญ่ โดยใช้เครื่องหมาย Subfied ( $) คั่น เช่น  
          
                       ไทย$xประวัติศาสตร์

                  หัวเรื่องย่อยอาจจำแนกได้ดังนี้

                  2.1  หัวเรื่องย่อยที่บอกลักษณะทางกายภาพ  หนังสือบางเล่มนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ใช่ในรูปแบบการบรรยายความรู้ทางวิชาการ แต่นำเสนอในรูปแบบ พจนานุกรม  สารานุกรม  นามานุกรม แผนที่ ตาราง เป็นต้น  เช่น
                       
                       พุทธศาสนา$vพจนานุกรม
                       ไทย$vแผนที่

                 2.2  หัวเรื่องย่อยที่บอกประเด็นเนื้อหาเฉพาะด้าน วิชาการต่าง ๆ อาจจะนำเสนอในประเด็นเฉพาะด้าน หรือเฉพาะมุมมอง เช่น อาจจะกล่าวถึงในแง่ของประวัติความเป็นมาของเรื่องนั้น ๆ  หรือ กล่าวถึงในแง่ปรัชญา  แง่วิจัย  แง่วิธีการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ  ตัวอย่างเช่น

                       วิทยาศาสตร์$xการศึกษาและการสอน
                       สังคมศาสตร์$vวิจัย
                       ศาสนา$xปรัชญา

                  2.3  หัวเรื่องที่แสดงลำดับกาลเวลา หรือ ตามยุคสมัย หรือ ลำดับเหตุการณ์ หรือระยะเวลา  ใช้กับหัวเรื่องทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือภูมิภาคต่าง ๆ  หรือหัวเรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญ ในแง่ของยุคสมัยหรือเหตุการณ์ นั้น 

                       ไทย$xประวัติศาสตร์$yกรุงธนบุรี, 2310-2325
                        กฎหมาย$zไทย$yกรุงสุโขทัย

                  2.4  หัวเรื่องย่อยที่แบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์หรือชื่อประเทศ  โดยใช้ชื่อภูมิภาค ชื่อประเทศ หรือชื่อเมืองตามหลังหัวเรื่องใหญ่ เช่น

                       เกษตรกรรม$zไทย 
                       ปฐพีกลศาสตร์$zไทย

                  2.5  หัวเรื่องย่อยที่ใช้ขยายชื่อภูมิศาสตร์ที่เป็นหัวเรื่องใหญ่  มีเนื้อหาหลายสาขาวิชา เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมือง สังคมศาสตร์ ซึ่งกล่าวถึงเฉพาะในส่วนภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง  บริเวณที่กล่าวถึงเป็นเนื้อหาสำคัญ ชื่อสถานที่นั้นจึงต้องเป็นหัวเรื่องใหญ่ ส่วนประเด็นย่อยเกี่ยวกับชื่อภูมิศาสตร์เป็นเรื่องรอง คือต้องใช้เป็นหัวเรื่องย่อย

                       ไทย$xประวัติศาสตร์
                        มาเลเซีย$xการเมืองและการปกครอง
                       
                  2.6 หัวเรื่องย่อยที่ใช้ขยายชื่อภาษา  ใช้ตามหลังชื่อเฉพาะของภาษา  เช่น
   
                       ภาษาไทย$xการใช้ภาษา
                       ภาษาอังกฤษ$xไวยากรณ์

  หัวเรื่องที่บรรณารักษ์กำหนดขึ้นเอง
    
          หนังสือหัวเรื่องต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจะรวบรวมบัญชีคำต่าง ๆ ที่เป็นหัวเรื่องพร้อมวิธีใช้  แต่ความรู้ต่าง ๆ มีการพัฒนาตลอดเวลา มีการค้นพบความคิดใหม่ ๆ มีประเทศใหม่ ๆ คำใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา บรรณารักษ์สามารถเพิ่มเติมคำที่เป็นหัวเรื่องเพื่อเพิ่มเติมลงในหนังสือหัวเรื่องที่ใช้อยู่ได้  ดังนี้

    1.    ชื่อเฉพาะ  ได้แก่ 
      1.1    ชื่อบุคคล
      1.2    ชื่อครอบครัว
      1.3    ชื่อสถานที่ เช่น ประเทศ รัฐ เมือง เขตปกครอง กลุ่มประเทศ ภูเขา หมู่เกาะ 
      1.4    ชื่อของเชื้อชาติ
      1.5    ชื่อของภาษาและวรรณคดีของชาติต่าง ๆ
      1.6    ชื่อของสงคราม
      1.7    ชื่อสถาบัน
      1.8    ชื่อนิกายทางศาสนา
      1.9    ชื่ออาคารสิ่งก่อสร้าง

    2.    ชื่อสามัญ  ได้แก่
      2.1    ชื่อสัตว์ต่าง ๆ ชื่อดอกไม้ ชื่อกีฬา ชื่อเครื่องดนตรี ชื่อพรรณไม้ ชื่อผัก
      2.2    ชื่อโรค
      2.3    ชื่ออวัยวะของร่างกายมนุษย์
      2.4    ชื่อธาตุหรือสารเคมี
      2.5    ชื่อแร่ธาตุ

 

คู่มือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

1. หนังสือ การลงรายการหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ตามหลักเกณฑ์ AACR 2, 1998 Revision

2. หนังสือ คู่มือปฏิบัติงานการลงรายการหนังสือ ฉบับปรับปรุงใหม่  

3. คู่มือ MARC21 (MARC 21 Format for Bibliographic Datahttps://www.loc.gov/marc/bibliographic/

4. หนังสือ หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย

5. ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย (Thai Subject Headings)  https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php

ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย

 

6. Library of Congress Subject Headings  

     6.1 Library of Congress Subject Headings  ฉบับพิมพ์

     6.2 Library of Congress Subject Headings PDF Files https://www.loc.gov/aba/publications/FreeLCSH/freelcsh.html

LCSH

 

Back to Top